เลือกการสอบที่ท่านต้องการรับทราบข้อมูลเบื้องต้นและจุดประสงค์ในการสอบ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หลักสูตรเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย(ระดับปริญญาตรี)


Admission ( Central University Admissions System: CUAS) คือ ระบบกลางการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบัน
อุดมศึกษา หรือระบบแอดมิสชั่นส์กลาง ที่ใช้ทำการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาปีการศึกษา 2549 แทนระบบเอ็นทรานซ์ที่ใช้อยู่เดิม โดยมีองค์ประกอบเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาใน มหาวิทยาลัย ดังนี้

1. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า (GPAX) ให้ค่าน้ำหนัก 10%

2. ผล การเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ (GPA) 3-5 กลุ่มจาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยในปีการศึกษา 2549 ให้ค่าน้ำหนัก 20% ในปีการศึกษา 2550 ให้ค่าน้ำหนัก 30% และในปีการศึกษา 2551 ให้ค่าน้ำหนัก 40%

3. ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้น พื้นฐาน (Ordinary National Educational Test : O-NET) ประกอบด้วยกลุ่มสาระการเรียนรู้ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยในปีการศึกษา 2549 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 35-70%, ในปีการศึกษา 2550 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 30-60% และในปีการศึกษา 2551 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 25-50%

4. ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่ง ชาติขั้นสูง (Advanced National Educational Test : A-NET) และ/หรือวิชาเฉพาะไม่เกิน 3 วิชา โดยในปีการศึกษา 2549 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 0-35%, ในปีการศึกษา 2550 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 0-30% และในปีการศึกษา 2551 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 0-25% ทั้งนี้องค์ประกอบที่ 1 และ 2 จะต้องถ่วงน้ำหนักโดยผลสอบ O-NET เป็นรายบุคคลก่อนนำไปใช้ โดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติจะเป็นผู้จัดสอบ O-NET และ A-NET


O - NET (Ordinary National Educational Test) คือ แบบสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน เป็นการวัดผลการจัดการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับในช่วงชั้นที่ 4 จัดสอบ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และ ภาษาอังกฤษ สําหรับผู้เรียนเรียนจบหลักสูตรการศึกษาช่วงชั้นที่ 4 จึงนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ซึ่งนักเรียนจะต้องสอบตามระบบการเรียนโดยปกติอยู่แล้ว ไม่ใช่เป็นการ กําหนดให้สอบเพิ่มเติม และสถาบันอุดมศึกษาเห็นร่วมกันว่าน่าจะเป็นข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ต่อการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อ จึงได้กําหนดให้นํามาใช้เป็นส่วนหนึ่ง ขององค์ประกอบ


GAT (General Aptitude Test) ความถนัดทั่วไป คือ การทดสอบความถนัดทั่วไป เป็นการวัดศักยภาพในการเรียนใน
มหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ แยกได้ 2 ส่วน คือ
1. ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหา 50%
2. ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ 50 %


PAT (Professional and Academic Aptitude Test) ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ คือ ความรู้ที่เป็นพื้นฐาน
ที่จะเรียนต่อในวิชาชีพนั้น ๆ กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆให้ประสบความสำเร็จ มี 7 ประเภท คือ

PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์
-เนื้อหา เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion,Geometry,Trigonometry,Calculus ฯลฯ
-ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills

PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์
-เนื้อหา ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, environment, ICT ฯลฯ
-ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Sciences Reading Ability,Science Problem Solving Ability ฯลฯ

PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรมศาสตร์
-เนื้อหา เช่น Engineering Mathematics, EngineeringSciences,Life Sciences, IT ฯลฯ
-ลักษณะข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Perceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability

PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
-เนื้อหา เช่น Architectural Math and Science ฯลฯ
-ลักษณะข้อสอบ Space Relations, Multidimensional Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability ฯลฯ

PAT 5 วัดศักยภาพทาง ครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์
-เนื้อหา ความรู้ในเนื้อหาภาษา ไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม วิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
-ลักษณะข้อสอบ ครุศึกษา (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading Skills),ความรู้ทั่วไปเกี่ยว กับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ

PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์
-เนื้อหา เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทาง ศิลป์ ฯลฯ

ลักษณะข้อสอบ PAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย
- คะแนนเต็มชุดละ 200 คะแนน เวลาสอบชุดละ 2 ชั่วโมง
- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
- มีการออกข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อ สอบ

การจัดสอบPAT จะจัดสอบเมื่อนักเรียนอยู่ชั้น ม.6 โดยจัดสอบปีละ 2 ครั้ง
- คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด




วิชาสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์


CU-TEP (Chulalongkorn University Test of English Proficiency) คือ การวัดความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษ
เพื่อการศึกษาทางทักษะการอ่าน การเขียน การฟังและ การพูดเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษทั่วไป และภาษาอังกฤษกึ่งวิชาการ ข้อสอบชุดนี้เหมาะสำหรับวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา


CU-AAT (Chulalongkorn University Academic Aptitude Test) คือ แบบทดสอบที่ใช้วัดความถนัดโดยแบ่งออกเป็น
2 ส่วนหลักๆ ได้แก่ Math Section ใช้สำหรับวัดความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ และ Verbal Section ใช้สำหรับวัดความสามารถทางด้านภาษา ผลสอบใช้สำหรับ สำหรับผู้ประสงค์เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีหลักสูตรภาษาอังกฤษและหลักสูตรนานาชาติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ คณะนิเทศศาสตร์ (Inter) ใช้คะแนน CU - AAT และ interview คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (Inter ) คณะเศรษฐศาสตร์ (Inter ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Inter ) คณะวิทยาศาสตร์ (Inter ) คณะอักษรศาสตร์ สาขาภาษาและวัฒนธรรม (Inter )


CU-ATS (Chulalongkorn University Aptitude Test for Science) คือ การทดสอบความถนัดทางวิทยาศาสตร์ของจุฬา
ประกอบด้วยวิชา ฟิสิกส์และเคมี ผลการทดสอบที่ได้สามารถนำไปใช้สมัครเข้าศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬา หลักสูตรอินเตอร์ ได้แก่ วิศวกรรมการออกแบบและการผลิตยานยนต์ (ADME) , สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร (ICE) และ สาขาวิชาวิศวกรรมอากาศยาน (AERO) ยกเว้นวิศวกรรมนาโนที่ต้องใช้ผลสอบ CU-ATS (NANO)


CU-Science คือ การทดสอบความถนัดทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยข้อสอบ 4 วิชา ได้แก่ วิชาเคมี , ฟิสิกส์,ชีววิทยา
และคณิตศาสตร์ ใช้สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โครงการรับตรง คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554 (เหมาะสำหรับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2552)


CU-BEST (Chulalongkorn University Business Entrance Scholastic Test) คือ การทดสอบทางคณิตศาสตร์เพื่อวัด
ความรู้ความสามารถในการศึกษาต่อระดับปริญญา โท/เอก หลักสูตร MBA ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เป็นการสอบความถนัดทางธุรกิจแนว GMAT) ซึ่งก่อนจะมี CU-BEST จะต้องสอบ GMAT ต่อมาทีมอาจารย์ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ได้พัฒนา CU-BEST มาจาก GMAT และปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของบัณฑิตไทยที่จะต้องผ่านการทดสอบใน 3 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ส่วนที่เป็นการวิเคราะห์เชิงธุรกิจและการทดสอบเชาวน์ปัญญา โดยมีการจัดสอบปีละ 4 ครั้ง สำหรับ CU-BEST ภาษาไทย และ 2 ครั้ง สำหรับ CU-BEST ภาษาอังกฤษ* คะแนนสอบ CU-BEST มีอายุ 2 ปี

หลักสูตรที่ต้องใช้คะแนนสอบ CU-BEST ในการยื่นใบสมัคร ได้แก่
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคปกติ
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต นักบริหารระดับต้น
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาการจัดการการบิน
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาการจัดการโรงพยาบาลและสุขภาพ
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการตลาด
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการด้านโลจิสติกส์
- หลักสูตรบัญชีดุษฏีบัณฺฑิต
(ในกรณี สอบถามคะแนนขั้นต่ำที่สามารถสมัครได้ จากแต่ละหลักสูตรโดยตรง ) สำหรับหลักสูตร MBA English Program จะต้องใช้ CU-BEST (English) เท่านั้น


CU-TaD คือ การทดสอบทักษะด้านการออกแบบ สำหรับต้องการศึกษา ต่อในระดับปริญญาตรี ภาควิชา
สถาปัตยกรรมศาสตร์ (หลักสูตรอินเตอร์)) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


CU-TMC (Chulalongkorn University Test of Thai for Mass Communications) คือ แบบทดสอบวัดความรู้ภาษาไทย
เพื่อการสื่อสารมวลชนทางด้านการอ่านและการเขียน ผู้เข้าสอบสามารถวัดระดับความรู้ของตน เพื่อสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ในคณะนิเทศศาสตร์ จุฬา


CU-TTP (Chulalongkorn University Test of Thai Proficiency) คือ การทดสอบวัดความรู้ภาษาไทยทางด้านการอ่าน
การเขียน การฟัง และการอ่านออกเสียง ระดับต่างๆ ผู้เข้าสอบสามารถวัดระดับความรู้และทักษะภาษาไทยของตนเอง สำหรับการเตรียมตัวเพื่อพัฒนาภาษาไทยในการศึกษา การทำงาน และใช้สมัครเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาโท คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.atc.chula.ac.th/th_html/th_aat.html




วิชาสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


SMART-I (Scholastic Management Aptitude Requirement Test Centera Thammasat University ) คือ การทดสอบ
เพื่อประเมินความพร้อมและความเหมาะสมของบุคคลในการเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี (SMART-I for Undergraduate Level) ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทั้งหลักสูตรภาษาไทยและ หลักสูตรนานาชาติ (BBA) ผ่านโครงการรับตรง (Direct Entrance) ได้แก่บัญชี (ทั้งหลักสูตร 5 ปี และ 4 ปี) บริหารธุรกิจ (ทั้งหลักสูตร 5 ปี และ 4 ปี) และ BBA หลักสูตรบริหารธุรกิจภาคอินเตอร์ ใน 1 ปี จะมีการจัดสอบ SMART-I ประมาณ 5 ครั้ง เราสามารถสอบกี่ครั้งก็ได้ ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย สามารถสอบได้หมด แต่ตอนนำคะแนนไปยื่นเข้าศึกษาต่อต้องยื่นขณะเรียนอยู่ ม.6 หรือจบ ม.6 แล้ว และผลคะแนนที่สอบสามารถเก็บไว้ยื่นได้ 2 ปี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทดสอบทักษะด้านการจัดการแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://smart.bus.tu.ac.th/


SMART-II (Scholastic Management Aptitude Requirement Test) คือ แบบทดสอบที่จัดขึ้นเพื่อประเมินความสามารถ
ของบุคคลในการเข้าศึกษาต่อในระดับ ปริญญาโท(SMART-II for Graduate Level) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โครงการต่างๆ ได้แก่ ได้แก่ บริหารธุรกิจ (MBA) บริหารธุรกิจ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (MBA-HRM) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (MRE) และ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MSMIS) โดยในแต่ละโครงการ จะมีการกำหนดคุณสมบัติของนักศึกษาตามความต้องการแตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยให้โครงการสามารถคัดเลือกนักศึกษาให้ตรงตามความต้องการมากที่สุด สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทดสอบทักษะด้านการจัดการแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://smart.bus.tu.ac.th/


TU-GET (Thammasat University Graduate English Test) คือ การสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของผู้ต้องการ
ทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษเพื่อ ทราบระดับความสามารถของตนเอง หรือจะสมัครเข้าเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท หรือปริญญาตรีภาคอินเตอร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (คะแนนเก็บได้ 2 ปี) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันภาษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.tu.ac.th/org/litu/ttesting.htm




หลักสูตรการสอบทั่วไปในทุกระดับชั้น


SAT ( Scholastic Aptitude Tests หรือ Scholastic Assessment Tests ) คือ การสอบมาตรฐานของเด็ก high school
ในอเมริกา ซึ่งมี high school จำนวนมาก และมีมาตรฐานการเรียนการสอนตลอดจนการวัดผลแตกต่างกัน จึงมีการสอบเพื่อเปรียบเทียบความพร้อมและความสามารถที่แท้จริงของนักศึกษา แต่ละคน โดยไม่ใช้เกรดจากโรงเรียน เทียบได้กับการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยของประเทศไทย ผู้ที่จัดสอบ SAT คือ Collegeboard ( http://www.collegeboard.com/ ) มหาวิทยาลัยจะนำคะแนนสอบ SAT นี้ไปเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษา แต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีเกณฑ์การใช้คะแนนนี้ต่างกันไป

คะแนนสอบ SAT สามารถใช้ยื่นสมัครที่คณะต่างๆ ดังนี้
1. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (Inter) มหาวิทยาลัยจุฬาและ ธรรมศาสตร์
2. หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (Inter) มหาวิทยาลัยจุฬาและ ธรรมศาสตร์
3. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (Inter) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมยานยนต์ จุฬา ,วิศวกรรมนาโน จุฬา
4. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (Inter) ธรรมศาสตร์ เทคโนโลยีการจัดการ,เทคโนโลยีสารสนเทศ , เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และวิทยาการคอมพิวเตอร์
5. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (Inter) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
6. หลักสูตรวิทยาศาสตรและการบริหารธุรกิจบัณฑิต (Inter) เกษตร
7. หลักสูตรนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล
8. หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรและศิลปบัณฑิต (Inter) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
9. หลักสูตรInterทุกสาขาวิชาABAC และอื่นๆ อีกหลายหลักสูตร


GMAT (Graduate Management Admission Test) คือ การวัดความรู้ในการสื่อสารซึ่งรวมทั้งการอ่านและ การเขียน,
ทักษะการวิเคราะห์, และ ทักษะในการคำนวณ ที่จะสามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จในการเรียนต่อทางด้านบริหาร ธุรกิจ จาก website ของผู้ออกข้อสอบ www.mba.com ระบุไว้ชัดเจนว่าข้อสอบ GMAT ไม่สามารถใช้วัดความสามารถในเรื่องต่อไปนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทและ ปริญญาเอกสาขาบริหารธุรกิจซึ่งรวมทั้ง MBA, M.S. Marketing, M.S. Finance, MIS (สำหรับสาขา MIS ของบางมหาวิทยาลัยอาจต้องใช้คะแนน GRE แทน), DBA, และ Ph.D. ด้านบริหารธุรกิจส่วนใหญ่ต้องใช้คะแนน GMAT ในการพิจารณารับนักศึกษา


IELTS (International English Language Testing System) คือ การทดสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษ
สำหรับผู้สนใจศึกษาต่อ หรือรับการฝึกอบรมใน ต่างประเทศ หรือสถานที่ที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร คล้ายกับการสอบ TOEFL ซึ่งเป็นการทดสอบระบบ American แต่สำหรับผู้ที่กำลังเตรียมตัวศึกษาต่อที่ประเทศ Australia, England, New Zealand หรือต่างประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ จะต้องใช้ผลสอบ IELTS หรือ TOEFL อย่าใดอย่างหนึ่งก็ได้ IELTS ได้รับการยอมรับจากมหาวิทยาลัยและบริษัทต่างๆในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา สำหรับการสอบ IELTS ผู้สมัครควรมีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี


TOEIC (Test of English for International Communication ) เป็นข้อสอบมาตรฐานระดับสากล ในการวัดทักษะภาษา
อังกฤษสำหรับธุรกิจ โดยในปี 2008 มีมากกว่า 5 ล้านได้ทดสอบ TOEIC และจากกว่า 30 ปีที่ผ่านมา คะแนนสอบ TOEIC ได้ช่วยเหลือ องค์กร สถาบันการศึกษา และรัฐบาลทั่วโลก กว่าหลายพันแห่ง ในการรับสมัครและโปรโมทผู้สมัครที่มีคุณสมบัติมากที่สุด ซึ่งการสอบ TOEIC จัดทำขึ้นโดยEducational Testing Service (ETS)สำหรับในประเทศไทยนั้น มีหลายหน่วยงานและสถาบันต่างๆมากมายที่ต้องการผล TOEIC เช่น ธุรกิจการบิน การโรงแรม การท่องเที่ยว การขนส่ง สถาบันการเงิน ปิโตรเคมี ยานยนต์ โรงพยาบาล รวมทั้งบริษัทข้ามชาติอื่นๆ โดยนำไปใช้ในด้านต่างๆ เช่น สำหรับพิจารณาทักษะทางภาษาอังกฤษเพื่อรับสมัครเข้าทำงาน ปรับเงินเดือน เลื่อนตำแหน่ง คัดเลือกเพื่อไปอบรมสัมนาต่างประเทศ ปัจจุบัน TOEIC มีการสอบสองรูปแบบคือ
1. TOEIC Listening and Reading Test (การฟังและการอ่าน)
2. TOEIC Speaking and Writing Tests (การพูดและการฟัง) ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่
โดยในประเทศไทย มีการสอบเฉพาะแบบ TOEIC Listening and Reading Test (การฟังและการพูด) ซึ่งเป็นแบบทดสอบซึ่งสามารถวัดทักษะความสามารถในการนำภาษาอังกฤษมาใช้งานได้ จริง ทั้งด้านการฟังและการอ่านคะแนนของ TOEIC ไม่มีคะแนนได้ คะแนนตก ซึ่งแต่ละคะแนนจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้ภาษาของผู้สอบ โดยคะแนน TOEIC เริ่มจาก 10 คะแนนถึง 990 คะแนน


TOEFL (The Test of English as a Foreign Language) คือ การสอบเพื่อประเมินความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ
ของบุคคลที่ไม่ได้มีภาษาอังกฤษ เป็นภาษาประจำชาติ คะแนนสอบ TOEFL เป็นสิ่งจำเป็นต้องใช้ประกอบการสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ในสหรัฐอเมริกาและแคนนาดา
TOEFL ได้เปลี่ยนแปลงไป ทั้งรูปแบบการสอบ การคิดคะแนน และวิธีการสอบ การสอบ TOEFL เป็นการสอบวัดความรู้
ความสามารถทางภาษาอังกฤษสำหรับคนต่างชาติที่ไม่ได้มี ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่อย่างคนไทย เพื่อนำผลคะแนนไปยื่นกับสถาบันการศึกษาที่หมายตาเอาไว้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในคุณสมบัติที่ใช้สมัครเรียนระดับต่างๆ ผลคะแนน TOEFL นั้น ไม่เฉพาะใช้สมัครเรียนในสถาบันการศึกษาที่เป็นระบบอเมริกันเท่านั้น ปัจจุบันประเทศต่างๆ กว่า 110 ประเทศ และสถาบันการศึกษากว่า 6,000 แห่งทั่วโลก ยอมรับผลคะแนน TOEFL




การสอบวัดระดับภาษาต่างประเทศ


ภาษาจีน

HSK (Hanyu Shuiping Kaoshi) เป็นการสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนสำหรับ ผู้ที่ใช้ภาษาจีนเป็นภาษาที่สอง (คล้ายกับการสอบ TOEFL ในภาษา อังกฤษ) จัดโดยสำนักงานดูแลการสอนภาษาจีนเป็นภาษาที่สองของกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สาขาหลักที่มีการจัดสอบในประเทศไทย คือ การวัดระดับความรู้ภาษาจีนระดับพื้นฐาน ระดับต้น / กลาง และระดับสูง

ประโยชน์ ของการสอบ HSK ผู้ที่สอบผ่าน HSK ขั้น 3 (เทียบเท่า ขั้น A ของระดับพื้นฐานและขั้น C ของระดับต้น / กลาง) ขึ้นไป สามารถเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาชั้นสูงของประเทศจีนในคณะวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และ แพทย์ศาสตร์แผนตะวันตกได้ และมีสิทธิที่จะสอบ HSK สาขาธุรกิจ HSK สาขา เลขานุการ และ HSK สาขาการท่องเที่ยว
ผู้ ที่สอบผ่าน HSK ขั้น 6 ขึ้นไป สามารถศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาชั้นสูงของประเทศจีนในคณะศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และแพทย์ศาสตร์แผนจีน
ผู้ที่สอบผ่าน HSK ขั้น 9 ขึ้นไป สามารถศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาชั้นสูงของประเทศจีนในระดับปริญญาโท
ผู้ ที่ได้รับใบรับรองการสอบ HSK ทั้งระดับพื้นฐาน ระดับต้น / กลาง และสูงนั้น เวลาศึกษาต่อในประเทศจีนสามารถได้รับการยกเว้นเรียนวิชาภาษาจีนในระดับที่ เทียบเท่า กับระดับที่สอบผ่านได้ และยังสามารถใช้ใบรับรองนี้รับรองมาตรฐานความรู้ภาษาจีน เวลาสมัครงานได้ทั่วโลก

กลุ่ม เป้าหมาย
1. HSK ระดับพื้นฐาน (Beginners’ HSK) เหมาะสำหรับผู้เรียนภาษาจีนเป็นภาษาที่สอง และที่เรียนภาษาจีนในระบบตั้งแต่ 100 ถึง 800 ชั่วโมง เรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้บ่อย 400 ถึง 3000 คำ ศัพท์ และหลักไวยากรณ์ที่สัมพันธ์กัน
2. HSK ระดับต้น / กลาง (Elementary and intermediate HSK) เหมาะสำหรับผู้เรียน ภาษาจีนเป็นภาษาที่สอง และที่เรียนภาษาจีนในระบบตั้งแต่ 400 ถึง 2000 ชั่วโมง เรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้บ่อย 2000 ถึง 5000 คำศัพท์ และหลักไวยากรณ์ที่สัมพันธ์กัน
3. HSK ระดับสูง (Advanced HSK) เหมาะสำหรับผู้มีความรู้ ภาษาจีนระดับสูง เรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้บ่อยตั้งแต่ 5000 ถึง 8000 คำศัพท์ และ หลักไวยากรณ์ที่สัมพันธ์กัน

เนื้อหาการสอบ
HSK (ระดับพื้นฐาน) การฟัง การอ่าน และหลักไวยากรณ์ 140 ข้อ ประมาณ 135 นาที
HSK (ระดับต้น/กลาง) การ ฟัง การอ่าน หลักไวยากรณ์ และรวมทักษะ 170 ข้อ ประมาณ 145 นาที
HSK (ระดับสูง) การ ฟัง การอ่าน และรวมทักษะ 120 ข้อ ประมาณ 105 นาที การเขียน 1 (400 – 600 ตัว อักษร) 30 นาที การพูด 10 นาที โดยการอัดเสียง เตรียมตัว 10 นาที สอบ โดยการอัดเสียง 10 นาที รวม 155 นาที

ใบ รับรองขั้นใบรับรองขั้น
HSK ระดับพื้นฐาน C  ระดับขั้น1  คะแนน 100 - 154
HSK ระดับพื้นฐาน B  ระดับขั้น2  คะแนน 155 - 209
HSK ระดับพื้นฐาน A  ระดับขั้น3  คะแนน 210 - 300
HSK ระดับต้น C  ระดับขั้น4  คะแนน 152 - 188
HSK ระดับต้น B  ระดับขั้น5  คะแนน 189 - 225
HSK ระดับต้น A  ระดับขั้น6  คะแนน 226 - 262
HSK ระดับกลาง C  ระดับขั้น7  คะแนน 263 - 299
HSK ระดับกลาง B  ระดับขั้น8  คะแนน 300 - 336
HSK ระดับกลาง A  ระดับขั้น9  คะแนน 337 - 400
HSK ระดับสูง C  ระดับขั้น10  คะแนน 280 - 339
HSK ระดับสูง B  ระดับขั้น11  คะแนน 340 - 399
HSK ระดับสูง A  ระดับขั้น12  คะแนน 400 - 500

วันเวลาและสถานที่สอบ
ใน ปี พ.ศ. 2549 ได้กำหนดการสอบ HSK วันที่ 13 พฤษภาคม 2549 ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ บางนา

ค่าสมัครสอบ
HSK ระดับ พื้นฐาน คนละ 800 บาท
HSK ระดับ ต้น / กลาง คนละ 1,000 บาท
HSK ระดับ สูง คนละ 1,600 บาท

การสอบ HSK สาขาการท่องเที่ยว
• กลุ่มเป้า หมาย บุคคลที่ทำงานด้านการท่องเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์ หรือผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่ต้องใช้ภาษาจีน หรือบุคคลที่สนใจด้านการท่องเที่ยว และสนใจจะวัดระดับความรู้ของตัวเอง คุณสมบัติของผู้สมัครสอบต้องเคยเรียนภาษาจีนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 400 ชั่วโมง หรือ เคยสอบวัดระดับความรู้ HSK ได้ขั้น 3
• ประโยชน์ ของการสอบ HSK สาขาการท่องเที่ยว เพื่อองค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการท่องเที่ยวใช้ประโยชน์ในการวัดระดับ ความรู้ภาษาจีน ของพนักงาน และรับผู้สมัครเข้าทำงาน เพื่อวัดความรู้ของตนเองสำหรับบุคคลทั่วไป และเพื่อวัดระดับความรู้นักเรียนที่สมัครเข้าเรียนในสาขาวิชาที่เกี่ยวกับ การท่องเที่ยว เป็นต้น
• การสอบ HSK สาขา การท่องเที่ยวประกอบด้วย การสอบ ฟัง พูด อ่าน เขียน ทั้งสี่ทักษะ รวมโจทย์ 99 ข้อ ใช้เวลาในการสอบ 150 นาที คะแนนเต็มแต่ละทักษะ 100 คะแนน รวม 400 คะแนน
• การวัด ผลแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ผู้สอบจะได้รับคะแนนสอบและการจัดแบ่งระดับตามที่กำหนด

ประโยชน์ของการสอบ HSK สำหรับ เด็ก
• เพื่อวัดระดับความสามารถในการ ใช้ภาษาจีนกลางเป็นภาษาสื่อสารของผู้สอบ
• เพื่อวัด มาตรฐานการสอนภาษาจีนของสถานศึกษา
• เพื่อใช้ศึกษาต่อ ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

กลุ่ม เป้าหมาย
เด็กที่เรียนภาษาจีนอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยแบ่งการสอบเป็น 3
ระดับ ระดับ ที่ 1 เหมาะสำหรับเด็กที่เรียนภาษาจีนมาแล้วอย่างน้อย 150 ชั่วโมง
ระดับที่ 2 เหมาะสำหรับเด็ก ที่เรียนภาษาจีนมาแล้วอย่างน้อย 250 ชั่วโมง
ระดับ ที่ 3 เหมาะสำหรับเด็กที่เรียนภาษาจีนมาแล้วอย่างน้อย 400 ชั่วโมง

การวัด ผล
ผู้ผ่านการสอบจะได้รับประกาศนียบัตร เป็นหลักฐานรับรองผลการสอบ การแสดงผลสอบของทั้ง 3 ระดับแบ่ง ออกเป็น 3 ขั้น คือ A B และ C การ แสดงผลแต่ละขั้นจะใช้รูปหมีแพนด้าเป็นสัญลักษณ์ หมีแพนด้า 1 ตัว หมายถึงขั้น C (สอบผ่าน) 2 ตัวหมายถึงขั้น B (ดี) และ 3 ตัว หมายถึงขั้น A (ดีมาก) แต่ละขั้นกำหนดจากสัดส่วนของคะแนนเต็ม 100 คะแนนดังนี้ การสอบ HSK (เด็ก) ระดับ 1, 2 และ 3

มาตรฐานการวัดผล
ระดับ 1 สามารถเข้าใจคำ กลุ่มคำ ประโยค และสนทนาภาษาจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่ง่ายๆ และสามารถใช้ภาษาจีนในการสื่อสารเรื่องที่ซับซ้อนน้อยที่สุด
ระดับ 2 สามารถเข้าใจประโยค และสนทนาภาษาจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่ง่าย และสามารถใช้ภาษาจีนในการสื่อสารเรื่องที่ไม่ซับซ้อน
ระดับ 3 สามารถเข้าใจบทสนทนาและบทความภาษาจีนสั้นๆ สามารถใช้ภาษาจีนในการสื่อสารในเรื่องทั่วๆ ไป


ภาษาญี่ปุ่น

J.TEST (การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นเชิงปฏิบัติ) เป็นการสอบเพื่อวัดความสามารถด้านภาษาญี่ปุ่นของชาวต่างประเทศ อย่างเป็นระบบและมีหลักเกณฑ์ โดยเริ่มจัดให้มีการสอบครั้งแรกในปี พ.ศ.2534 เป็นต้นมา ปัจจุบัน มีนักศึกษาต่างชาติ พนักงานบริษัท และนักเรียนของโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น เข้ารับการสอบวัดระดับประมาณ 5 หมื่นคนในแต่ละปี สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.j-test.org/th/

BJT (Business Japanese Proficiency Test) เป็นการทดสอบวัดระดับทักษะการใช้ภาษาญี่ปุ่นเชิงธุรกิจ BJT นั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การทดสอบ ทักษะการฟังและการอ่าน ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นพร้อมกันในหลายประเทศ ปีละ 2 ครั้ง คือในเดือนมิถุนายนและเดือนพฤศจิกายน

ข้อสอบของ BJT จะใช้ข้อสอบชุดเดียว และประเมินผลความสามารถเป็นคะแนนเพื่อให้ผู้สอบสามารถ เปรียบเทียบความสามารถของตนเองได้จากคะแนนวัดผลดังกล่าวได้โดยง่าย โดยข้อสอบจะเน้นภาษาที่ใช้จริงในเชิงธุรกิจ และชีวิตประจำวันมากกว่าการวัดความสามารถในการใช้ไวยากรณ์แบบเคร่งครัด สำหรับผู้สอบได้คะแนนสูงตามเกณฑ์ที่กำหนดของการสอบแต่ละครั้งในปีนั้น ๆ จะได้รับโล่เกียรติยศพร้อมเข้ารับมอบใบประกาศนียบัตรจากทางองค์การ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.jetrobkk.or.th/html/board/board_jetrotest_body.html

JLPT (Japanese Language Proficiency Test) เป็น การสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น ของชาวต่างชาติ ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น การสอบภายในประเทศญี่ปุ่นจัดโดยสมาคมสนับสนุนการศึกษานานาชาติแห่งประเทศ ญี่ปุ่น(JEES) โดยจัดสอบในหลายจังหวัดที่ประเทศญี่ปุ่น ส่วนนอกประเทศญี่ปุ่นนั้น มูลนิธิญี่ปุ่น(Japan Foundation)เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดสอบ และตั้งแต่ปี2553เป็นต้นไป จะเริ่มจัดสอบในรูปแบบใหม่ โดยเปลี่ยนจาก4ระดับมาเป็น5ระดับ และจัดสอบปีละ2ครั้ง ในวันอาทิตย์แรกของเดือนกรกฎาคม (เฉพาะระดับ1, 2 และ 3) และเดือนธันวาคม(ทุกระดับ)

การสอบรูปแบบใหม่ เป็นการวัดความสามารถทางทักษะแต่ละด้านและความสามารถด้านการสื่อสาร การสอบนี้จะวัดความสามารถในการใช้ภาษาของผู้เรียนในสถานการณ์จริง

ระดับการสอบ เนื่องจากมีผู้กล่าวว่า ความยากของข้อสอบระดับ 3 และระดับ 2 ต่างกันมาก เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้สอบ จึงได้ปรับเปลี่ยนระบบการสอบจากปัจจุบันที่มี 4 ระดับ เป็น 5 ระดับ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน จึงกำหนดวิธีการเรียกระดับการสอบในรูปแบบใหม่ดังนี้ คือ N1 – N2 – N3 – N4 – N5 โดยเพิ่มตัวอักษร “N” ไว้ข้างหน้า ซึ่งมาจากคำว่าNihongo(ภาษาญี่ปุ่น) และ New(ใหม่) N1 ระดับที่ใกล้เคียงกับระดับ 1 ในปัจจุบัน แต่ยากกว่าเล็กน้อย N2 ระดับที่ใกล้เคียงกับระดับ 2 ในปัจจุบัน N3 ระดับที่อยู่ระหว่างระดับ 2 และ 3 ในปัจจุบัน N4 ระดับที่ใกล้เคียงกับระดับ 3 ในปัจจุบัน N5 ระดับที่ใกล้เคียงกับระดับ 4 ในปัจจุบัน
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.jlpt.jp/e/about/new-jlpt.html
การสมัครสอบในประเทศไทยสมัครได้ที่ : http://www.ojsat.or.th


ภาษาเกาหลี

TOPIK (Test of Proficiency in Korean language) เป็นการสอบวัด ระดับความสามารถทางภาษาเกาหลี Topik สำหรับบุคคลที่ต้องการ ประกอบธุรกิจ หรือต้องการทำงานกับบริษัทเกาหลี ยังรวมไปถึงผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในประเทศเกาหลี บุคคลที่ต้องการสอบวัดระดับภาษาเกาหลีนี้ จะเป็นคนต่างชาติหรือชาวเกาหลีที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศก็ได้

การสอบวัดระดับทางภาษาเกาหลีของ Topik แบบออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. S-Topik (Standard Topik) คือ การวัดและประเมินความสามารถทางภาษาเกาหล ีที่จำเป็นในด้านวิชาการอย่างเช่น การศึกษาต่อ หรือความเข้าใจในวัฒนธรรมเป็นต้น
2. B-Topik (Business Topik) คือ การวัดประเมินความสามารถทางภาษาเกาหลี ในการสื่อสารเจรจาที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจในเกาหลี การจัดสอบ TOPIK ในประเทศไทย
จัดสอบ ปีละ 1 ครั้ง
ช่วงรับสมัคร ประมาณ เดือนกรกฎาคม – เดือนสิงหาคม ของทุกปี
ช่วงสอบ ประมาณ เดือนกันยายน ของทุกปี

สนาม สอบ ในประเทศไทย มีสนามสอบ 2 แห่ง คือ
1. กรุงเทพมหานคร โรงเรียนนานาชาติเกาหลีกรุงเทพฯ (KIS Bangkok School) 29/19 หมู่ 6 ซอยมิตรไมตรี 28 แขวงคู้ฝั่งเหนือ เขตหนองจอก กรุงเทพฯ10530 โทรศัพท์ 02-543-6981
2. ปัตตานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาภาษาตะวันออก แผนกวิชาภาษาเกาหลี โทรศัพท์ 073-331-304

คุณสมบัติผู้สมัครสอบ เป็นชาวต่างชาติ หรือชาวเกาหลีที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ (หรือกำลังศึกษาอยู่)

หลักฐานการสมัคร
1.รูปถ่าย ขนาด 1.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป (ต้องเป็นรูปที่ถ่ายมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน หรือเป็นรูปสแกน รูปกล้องดิจิตอล)
2.ค่าสมัครสอบ จำนวน 400 บาท
สถานที่รับสมัคร โรงเรียนนานา ชาติเกาหลีกรุงเทพฯ (KIS Bangkok School)

สอบถามข้อมูล เพิ่มเติมได้ที่ :
โรงเรียนนานาชาติ เกาหลีกรุงเทพฯ (KIS Bangkok School) 29/19 หมู่ 6 ซอยมิตรไมตรี 28 แขวงคู้ฝั่งเหนือ เขตหนองจอก กรุงเทพฯ10530 โทรศัพท์ 02-543-6981


ภาษาเยอรมัน

การสอบวัดระดับภาษาเยอรมันเพื่อเรียนต่อ ทำงาน ขอวีซ่า รับใบประกาศนียบัตร หรือรับใบรับรองในประเทศไทย ดำเนินการสอบโดยสถาบันเกอเธ่ โดยมีการแบ่งระดับชั้นของการสอบ ตามมาตรฐานการวัดความรู้ ตามข้อตกลงร่วมกันของ สหภาพยุโรปที่แบ่งออกเป็น 6 ระดับ ได้แก่ A1, A2, B1, B2, C1 และ C2 ตามลำดับ ซึ่งสามารถเทียบเคียงระดับชั้นของ GER* กับระดับชั้นของสถาบันเกอเธ่ และการสอบของสถาบันเกอเธ่

รายละเอียดระดับชั้นของ GER*
ระดับต้น A1
ผู้เรียนสามารถใช้และเข้าใจประโยคง่ายๆในชีวิตประจำวัน สามารถแนะนำตัวเองและผู้อื่น ทั้งยังสามารถตั้งคำถามเกี่ยวกับ บุคคลอื่นได้ เช่น เขาอยู่ที่ไหน รู้จักใครบ้าง มีอะไรบ้าง และตอบคำถามเหล่านี้ได้ ทั้งยังสามารถเข้าใจบทสนทนาเมื่อคู่สนทนา พูดช้าและชัดเจน

ระดับต้น A2
ผู้เรียนสามารถเข้าใจประโยคและข้อความง่ายๆที่ใช้เป็นประจำได้ เช่นข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ครอบครัว การซื้อของ การทำงาน สามารถเข้าใจ สื่อสาร รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สามารถอธิบายประวัติของตนและสิ่งที่อยู่รอบตัว โดยใช้ข้อความง่ายๆได้

ระดับกลาง B1
ผู้เรียนสามารถพูด เขียน และจับใจความสำคัญของข้อความทั่วๆไปได้ เมื่อเป็นหัวข้อที่คุ้นเคย หรือสนใจ เช่น การทำงาน โรงเรียน เวลาว่าง ฯลฯ สามารถจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางในประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมันได้ สามารถบรรยายประสบการณ์ เหตุการณ์ ความฝัน ความหวัง พร้อมให้เหตุผลสั้นๆได้

ระดับกลาง B2
ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาสำคัญของข้อความที่ซับซ้อน ทั้งในเรื่องที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม รวมถึงการสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการในเรื่องที่ตนมีความรู้ สามารถโต้ตอบกับผู้ที่พูดภาษาเยอรมันเป็นภาษาแม่ ได้อย่างเป็น ธรรมชาติ สามารถพูดและเขียนข้อความ ในหัวข้อที่หลากหลาย ได้อย่างละเอียดและชัดเจน สามารถแสดงทัศนคติของตน ต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน พร้อมทั้งอธิบายข้อดีและข้อเสียของสิ่งต่างๆได้

ระดับสูง C1
ผู้เรียนสามารถเข้าใจข้อความยาวๆที่ซับซ้อนในหัวข้อหลากหลาย และเข้าใจความหมายแฝงได้ สามารถแสดงความคิด ความรู้สึกของตนได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ต้องหยุดคิดหาคำศัพท์ สามารถใช้ภาษาเยอรมันทั้งในด้านสังคมการทำงาน หรือด้านการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพูดและเขียนข้อความที่ซับซ้อนได้อย่างชัดเจนและถูกต้องตามโครงสร้าง ไวยากรณ์ พร้อมทั้งสามารถใช้คำเชื่อมประโยคได้อย่างถูกต้อง

ระดับสูง C2
ผู้เรียนมีทักษะทั้งด้านการอ่านและการฟังที่ดี สามารถสรุปเรื่องราวและอธิบายข้อความเหล่านั้นได้ พูดหรือเขียนแสดง ความรู้สึก ได้อย่างคล่องแคล่ว ทั้งยังสามารถอธิบายความแตกต่างด้านความหมายเล็กๆน้อยๆในสถานการณ์ที่ซับ ซ้อนได้ชัดเจน

รายละเอียดการสอบของสถาบันเกอเธ่
Start Deutsch 1
เป็นชุดข้อสอบเทียบความ รู้ภาษาเยอรมันสำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่ ข้อสอบชุดนี้จัดทำขึ้นโดยสถาบันเกอเธ่ร่วมกับสำนักงานจัดระบบ การศึกษานอกเวลาและระบบทดสอบ และเป็นข้อสอบที่ถือเป็น มาตรฐานสำหรับทดสอบและประเมินผลในระดับนานาชาติ การสอบผ่าน Start Deutsch 1 จะเป็นหลักฐานรับรอง ความสามารถการใช้ภาษาระดับพื้นฐานขั้นที่ 1 หรือ - A1 - ตามมาตรฐานการวัดความรู้ ตามข้อตกลงร่วมกันของสหภาพยุโรป

Start Deutsch 2
เป็นชุดข้อสอบเทียบความรู้ภาษาเยอรมันสำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่ ข้อสอบชุดนี้จัดทำขึ้นโดยสถาบันเกอเธ่ร่วมกับสำนักงานจัดระบบ การศึกษานอกเวลาและระบบทดสอบ และเป็นข้อสอบที่ถือเป็นมาตรฐานสำหรับทดสอบและประเมินผลในระดับนานาชาติ การสอบผ่าน Start Deutsch 2 ถือเป็นหลักฐานรับรองความสามารถการใช้ภาษาระดับพื้นฐานขั้นที่ 2 หรือ - A2 - ตามมาตรฐานการวัดความรู้ ตามความตกลงร่วมกันของสหภาพยุโรป

Zertifikat Deutsch
ข้อสอบระดับประกาศนียบัตรชั้นต้น (ZD) เป็นข้อสอบที่เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ การสอบผ่านระดับประกาศนียบัตรชั้นต้น (ZD) แสดงว่าคุณมีความสามารถเข้าใจภาษาเบี้องต้น เพียงพอที่จะสื่อสารเกี่ยวกับชีวิตประจำวันทั่วไปได้ มีความรู้เกี่ยวกับ โครงสร้างประโยคที่สำคัญๆ พอที่จะเข้าร่วมวงสนทนาหรือเขียนเล่าเกี่ยวกับชีวิตประจำวันได้ ตลอดจนสามารถที่จะอ่านบทความ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวเหตุการณ์ทั่วไปได้เข้าใจ

Zertifikat Deutsch fur den Beruf
การสอบผ่านประกาศนียบัตรนี้ แสดงว่าคุณสามารถจะสื่อสารเกี่ยวกับสถานการณ์ ทั่วไปในแวดวงธุรกิจได้ เช่น อ่านบทความ ด้านเศรษฐกิจที่ไม่ซับซ้อน และสามารถเขียนหรือสนทนาเกี่ยวกับเศรษฐกิจประจำวันได้อย่างเหมาะสม

Zentrale Mittelstufenprufung
“Goethe-Zertifikat B2” คือ การสอบวัดระดับแบบใหม่ที่จะนำมาใช้ทั่วโลกในเดือนกันยายน 2550 หาก\สอบได้ ใบประกาศนียบัตร Goethe-Zertifikat B2 แสดงว่าความรู้ภาษาเยอรมันมาตรฐานของ\อยู่ในระดับดี ด้วยความรู้ระดับนี้ \สามารถจะใช้ภาษา พูดและเขียนได้แทบทุกเรื่อง อย่างถูกต้อง และคล่องแคล่วขึ้น รวมทั้งสามารถจะอ่านและทำความเข้าใจ บทความที่มีเนื้อหายากขึ้นได้

Prfüng Wirtschaftsdeutsch
หากคุณสอบได้ประกาศนียบัตร ภาษาเยอรมันธุรกิจสากล (PWD) แสดงว่าคุณสามารถพูด และเขียนภาษาเยอรมันเกี่ยวกับเนื้อหา ในแวดวงธุรกิจให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างสละสลวย ประกาศนียบัตร (PWD) เป็นที่ยอมรับในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมทั่วโลก

Zentrale Oberstufenprufung
หากคุณสอบได้ประกาศนียบัตร ภาษาเยอรมันระดับสูง (ZOP) แสดงว่าคุณสามารถใช้ ภาษาเยอรมันมาตรฐานได้อย่าง สละสลวย ถูกต้อง ตามจุดประสงค์ที่จะสื่อสารได้ดี ด้วยความรู้ระดับนี้คุณสามารถอ่านบทความยากๆได้เข้าใจ สามารถเลือกพูดและเขียน ได้อย่างถูกต้อง ด้วยใบประกาศนียบัตรนี้คุณสามารถใช้ในการสมัครงาน และเข้าศึกษาได้ใน ทุกมหาวิทยาลัย

Kleines Deutsches Sprachdiplom
หากสอบได้ประกาศนียบัตรนี้ แสดงว่าสามารถใช้ภาษาเยอรมันมาตรฐานได้อย่าง สละสลวยถูกต้องตามจุดประสงค์ที่จะสื่อ สารได้ดี ด้วยความรู้ระดับนี้คุณสามารถจะอ่าน บทความที่เป็นภาษาต้นฉบับ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวรรณกรรม) ได้เข้าใจ สามารถและเลือกใช้ภาษาสำหรับพูดและเขียนได้อย่างเหมาะสม ข้อสอบชุดนี้มีความยากเท่ากับ ชุด ภาษาเยอรมันระดับสูง (ZOP) จะต่างกันตรงที่มีการวัดความรู้ด้านชีวิตความเป็นอยู่และ วัฒนธรรมภาษาเยอรมันด้วย

Großes Deutsches Sprachdiplom
หากสอบได้ประกาศนียบัตรนี้ แสดงว่าสามารถใช้ภาษาเยอรมันได้ดีเท่ากับ เจ้าของภาษา

TestDaF
เป็นชุดข้อสอบกลางที่ใช้ทดสอบความรู้ภาษาเยอรมันที่ใดก็ได้ทั่วโลก เป็นข้อสอบที่เหมาะสำหรับนักศึกษาที่มีความประสงค์ จะเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยในประเทศเยอรมนีและเป็นหลักฐานว่ามีความรู้ ภาษาเยอรมันอยู่ในระดับสูง ข้อสอบนี้จัดทำขึ้น โดยสถาบัน เทสต์ดัฟ ที่เมืองฮาเก็น

สามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  ฝ่ายทะเบียนและรับสมัครสถาบันเกอเธ่
Tel: +66 2287 0942-4 #12, 14
Fax: +66 2287 1829
e-mail : courses@bangkok.goethe.org


ภาษาฝรั่งเศษ

TCF (Test de Connaissance du Français) เป็นการสอบอันดับหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ การศึกษาขั้นสูงและการวิจัย ของฝรั่งเศส โดยมีจุดประสงค์ คือ
1. เป็นการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาฝรั่งเศสสำหรับบุคคลทั่วไปผู้ไม่ได้ใช้ ภาษาฝรั่งเศส ที่ประสงค์จะประเมินระดับทักษะภาษาฝรั่งเศสของตนด้วยวิธีการง่ายๆ เชื่อถือได้และรวดเร็ว ไม่ว่าจะเพื่อจุดประสงค์ด้านอาชีพการงาน ด้านส่วนตัวหรือด้านการศึกษา
2. เป็นการสอบที่ได้รับรองมาตรฐานและตรวจสอบจากหน่วยงานผู้ตรวจสอบซึ่งเป็น สมาชิกของสมาคมการทดสอบภาษาแห่งยุโรป (Association of language testers in Europe ALTE) ตามวิธีการที่เข้มงวดอย่างยิ่งซึ่งเป็นเครื่องมือในการตรวจวัดได้เป็นอย่าง ดี

ผู้สอบทุกคนจะได้รับผลการสอบซึ่งจะจัดระดับให้ผู้สอบ โดยมีระดับความรู้ทั้งสิ้น 6 ระดับ (A1 ถึง C2) ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (ตามกรอบอ้างอิงร่วมในสหภาพยุโรป)

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : www.ciep.fr/tcf/

TEF เป็นการสอบเพื่อประเมิน ความรู้ทางภาษาฝรั่งเศสซึ่งจัดโดยหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งกรุงปารีส มีจุดประสงค์เพื่อตรวจวัดระดับทางภาษาฝรั่งเศสของบุคคลที่ไม่ได้ใช้ภาษา ฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่โดย
1.การทดสอบความสามารถในการเข้าใจและการใช้ภาษาฝรั่งเศสโดยทั่วไป
2.การวัดผลทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณของระดับความสามารถทางภาษาศาสตร์และการ สื่อสารของผู้สอบ
3.จัดทำผลการสอบที่มีการวิเคราะห์โดยละเอียดและจัดทำเป็นรายบุคคล

วันสอบและค่าสอบ
สมาคมฝรั่งเศส กรุงเทพฯ เป็นศูนย์จัดการทดสอบความรู้ภาษาฝรั่งเศส (TCF) และการสอบประเมินความรู้ทางภาษาฝรั่งเศส (TEF) แต่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : แผนก ต้อนรับ สมาคมฝรั่งเศส
โทรศัพท์ : (662) 670 42 00 / 11
โทรสาร : (662) 670 42 70
อีเมล : info.bangkok@alliance-francaise.or.th