คณะเทคโนโลยีฯ มจพ.กับ 12 ปี แห่งความสำเร็จ
จากตัวชี้วัดความสำเร็จในการเปิดสอนหมายถึงจำนวนนักศึกษาที่ต้องการเข้า ศึกษาในหลักสูตร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ถือว่าประสบความสำเร็จสูงสุด เพราะยอดผู้สมัครเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทของคณะมาอันดับ 1 ของทุกปีการศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
จากการจัดการศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มาเป็นเวลากว่า 12 ปี สามารถกล้าสรุปได้ว่าคณะจัดการศึกษาในระดับและสาขานี้ไม่เป็นรองสถานศึกษา อื่น ๆ ในประเทศไทย
รองศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย เทียนทอง คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เปิดเผยว่า คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดสอนหลักสูตร Master Degree สาขา Information Technology เป็นครั้งแรกเมื่อปีการศึกษา 2539 ที่วิทยาเขตปราจีนบุรี ซึ่งเป็น International Program ในตอนนั้นหลักสูตรของคณะได้รับความร่วมมือจาก Monash University, Australia โดยได้มี MOU ระหว่างสองสถาบัน นั่นหมายถึงว่านักศึกษาทั้งสองแห่ง สามารถเทียบโอนรายวิชากันได้ ซึ่งต่อมาก็มีนักศึกษาเรียนปี 1 ที่คณะ แล้วไปเรียนต่อปี 2 ที่ออสเตรเลียและจบการศึกษาที่นั่นมาประมาณ 10 คน หลังจากนั้นคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็ได้ย้ายกลับมาจัดการศึกษาที่พระนครเหนือตั้งแต่ปีการศึกษา 2543 จนถึงปัจจุบัน
“คณะได้เปิดสอนหลักสูตรหลากหลายมากขึ้น ทั้งระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก ใน 2 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITM – Information Technology Management) ซึ่งเปิดสอนสาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) ทั้งหลักสูตรภาษาไทยและ International Program ส่วนอีกภาควิชาหนึ่งก็คือ ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT – Information Technology) ซึ่งเปิดสอนสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และสาขาวิชาสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (DN) ทั้งหลักสูตรภาษาไทยและ International Program เช่นกัน”
รองศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย กล่าวว่า คณะมีความร่วมมือทางด้านวิชาการอย่างเข้มแข็งกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เช่น Oklahoma State University – USA, Fern University – Germany, Edith Cowan University – Australia, Monash University – Australia และประเทศอื่น ๆ ทั้งในด้านการทำวิจัยร่วมกัน การแลกเปลี่ยนนักศึกษาและอาจารย์ การจัดการประชุมทางวิชาการร่วมกัน กิจกรรมที่ได้กระทำผ่านมาทุกปีการศึกษาก็คือ การที่มหาวิทยาลัยชั้นนำเหล่านี้ได้จัดส่ง Professor มาบรรยายการสอนและจัด Workshop ให้กับนักศึกษาของคณะ ตลอดจนคณะยังมีการสนับสนุนให้นักศึกษาไปศึกษาวิจัยในมหาวิทยาลัยเหล่านี้ เป็นประจำทุกปีการศึกษา ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งทางด้านหลักสูตรการเรียนการสอนที่คณะจัดการ ศึกษาอยู่
สำหรับหลักสูตร International Program นั้น คณะได้รับความไว้วางใจจากสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ หรือ TICA ได้จัดสรรทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาต่างชาติที่สนใจเข้ามาศึกษาทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี ๆ ละไม่ต่ำกว่า 3 ทุน พร้อมทั้งยังมีทุนอื่น ๆ อีก เช่น ทุน UniNet ทำให้หลักสูตร International Program ของคณะมีนักศึกษาต่างชาติเข้าศึกษาเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรจะเป็นชาวต่างชาติบางส่วน อีกส่วนหนึ่งก็คือคณาจารย์ของคณะที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากต่างประเทศ โดยตรง
“ในอนาคตอันใกล้นี้คณะจะมีหลักสูตรที่เป็น Dual Degree ทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอกกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ รวมทั้งจะมีการจัดตั้งภาควิชาสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย รวมทั้งจัดการศึกษาในหลักสูตรใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของสังคม ICT ในประเทศไทย ภายใต้กรอบของปรัชญาและวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยในการเป็น Research University”
คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวถึงความสำเร็จในการเปิดสอนและความโดดเด่นในหลักสูตร ว่า หากตัวชี้วัดความสำเร็จในการเปิดสอนหมายถึงจำนวนนักศึกษาที่ต้องการเข้า ศึกษาในหลักสูตร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ถือว่าประสบความสำเร็จสูงสุด เพราะยอดผู้สมัครเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทของคณะมาอันดับ 1 ของทุกปีการศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ แต่ถ้าหากตัวชี้วัดความสำเร็จในการได้งานทำของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ก็ถือได้ว่าประสบกับความสำเร็จในอันดับสูงเช่นกัน เพราะจากสถิติที่มี มหาบัณฑิตที่จบการศึกษาจากคณะได้งานทำไม่ต่ำกว่า 90% จากข้อมูลที่คณะได้ติดตามผล พบว่ามหาบัณฑิตส่วนน้อยที่ไม่ได้งานทำ เพราะมีเหตุผลอย่างอื่นมากกว่า และหากสรุปความสำเร็จในการเปิดสอนหลักสูตรต่าง ๆ ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศตามตัวบ่งชี้ทั้งสองประเด็นนี้ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการจัดการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประสบกับความสำเร็จมากทีเดียว ไม่เฉพาะกับหลักสูตรภาษาไทยเท่านั้น นักศึกษาต่างชาติที่เดินทางเข้ามาศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่คณะ หลายคนได้ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกในประเทศอังกฤษ เยอรมันและประเทศอื่น ๆ ต่างก็ยอมรับทางด้านวิชาการที่คณะประสิทธ์ประสาทให้พวกเขาเหล่านั้นอย่าง สมบูรณ์ เทียบเท่าหลักสูตรในมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ
“ในประเด็นความโดดเด่นของหลักสูตรมีด้วยกันหลายประการ ได้แก่ 1) ความทันสมัยของหลักสูตร ซึ่งคณะได้พยายามปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยและสอดคล้องกับการเปลี่ยน แปลงอยู่ตลอดเวลา ภายใต้การควบคุมคุณภาพการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างเข้มแข็งทุก ขั้นตอน 2) ความพร้อมทางด้านบุคลากร ภายในปีการศึกษา 2555 คณะจะมีคณาจารย์ประจำหลักสูตรที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาคอมพิวเตอร์ ไม่ต่ำกว่า 25 คน ที่จะรับผิดชอบด้านการเรียนการสอนและการวิจัย ยังไม่รวมอาจารย์ชาวต่างประเทศและ Professor อีกส่วนหนึ่ง ที่จะเดินทางมาสอนเป็นประจำทุกปีการศึกษา 3) ความพร้อมทางด้าน Hardware, Software และอาคารสถานที่ คณะได้ลงทุนทางด้านนี้มาแล้วไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาทในการจัดหา Hardware ที่มีจำนวนเพียงพอกับความต้องการ รวมทั้ง Software สนับสนุนการเรียนการสอน มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีความเสถียรและมี Bandwidth เพียงพอต่อการใช้งานทั้ง Fix Line และ Wireless Access รวมทั้งอาคารสถานที่ ซึ่งเน้นการตกแต่งแบบ Modern Office สร้างบรรยากาศในการวิจัยและการเรียนรู้ระดับบัณฑิตศึกษา 4) การจัดการแบบ e-Faculty ที่สมบูรณ์ที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนการสอน เช่น Live Lecture ผ่านเครือช่ายอินเทอร์เน็ตทุกชั่วโมง และการบริการการศึกษาด้านอื่น ๆ ผ่าน ICT และ 5) การบริการวิชาการต่าง ๆ ทั้งในการจัดฝึกอบรมให้กับนักศึกษาเสริมในหลักสูตร เช่น หลักสูตร CCNA หลักสูตร SAP และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับนักศึกษา ทั้งการศึกษาดูงานและกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ ทักษะ และเจตคติ รวมทั้งการเข้าใจตนเองและผู้อื่น เน้นการมีช่วยเหลือสังคม สิ่งต่าง ๆ ที่คณะได้รังสรรค์ขึ้นทั้งหมดนี้ จึงทำให้การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือมีความโดดเด่น จนเป็นที่ยอมรับของสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย”
รองศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย กล่าวว่า มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตที่จบการศึกษาจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จะเป็นคนเก่ง คนดีและทำงานอย่างมีความสุขในสังคม โดยจะได้รับการประสิทธิ์ประสาทความรู้ ทักษะและเจตคติที่สมบูรณ์และเพียบพร้อมทั้งทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเกิดการศึกษาในรายวิชาตามหลักสูตรและจากการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น รวมทั้งได้ศึกษาวิจัยในศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากการค้นพบเหล่านั้นไปเผยแพร่และประยุกต์ใช้ให้ เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนเป็นบัณฑิตที่มีเกียรติและมีศักดิ์ศรี เป็นที่ยอมรับจากสังคมภายนอกทั้งในและต่างประเทศ และประการสำคัญก็คือเป็นที่พึ่งของครอบครัวได้
จะอย่างไรก็ตาม อยากจะฝากถึงผู้ที่สนใจว่า จากการจัดการศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มาเป็นเวลากว่า 12 ปี สามารถกล้าสรุปได้ว่าคณะจัดการศึกษาในระดับและสาขานี้ไม่เป็นรองสถานศึกษา อื่น ๆ ในประเทศไทย ดังนั้นจึงมีผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ผู้ที่สนใจสมัครเข้าศึกษาต่อจึงควรติดตามความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี สารสนเทศอยู่ตลอดเวลา โดยแนะนำให้ไปเข้าร่วมกิจกรรมงานประชุมทางวิชาการที่คณะจัดขึ้นเป็นประจำทุก ปี ซึ่งมีชื่อว่า NCCIT (National Conference in Computer and Information Technology) เพื่อจะได้ศึกษาถึงแนวโน้มและวิทยาการทางด้านนี้จากผู้เสนอบทความวิจัยทั้ง ในและนอกประเทศ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการสมัครเข้าศึกษาต่อในหลักสูตร
สำหรับช่วงระยะเวลาการเปิดรับสมัครนักศึกษาในแต่ละภาคการศึกษานั้น รองศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย กล่าวว่า คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เปิดรับนักศึกษาทุกภาคเรียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เปิดรับสมัครนักศึกษาและจัดการสอบคัดเลือกนักศึกษา โดยที่บัณฑิตวิทยาลัยกำลังมีนโยบายใหม่ที่จะประกาศรับนักศึกษาทั้งปีโดยไม่ กำหนดช่วงเวลา ผู้สนใจสามารถติดตามได้ที่ www.graduate.kmutnb.ac.th ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
หลักสูตรที่เปิดสอน ในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอกจำนวนหลายหลักสูตร หลายแผนการศึกษา ทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ สามารถติดตามรายละเอียดเหล่านี้ได้ที่เว็บไซต์ของคณะที่ www.it.kmutnb.ac.th ซึ่งแสดงรายละเอียดของค่าใช้จ่ายในหลักสูตรไว้ครบถ้วน

สวัสดิการ ทุนการศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดสรรงบประมาณไว้สนับสนุนส่วนนี้เป็นประจำทุกปีการศึกษา ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ทุนสนับสนุนการวิจัยสำหรับนักศึกษา ปีละ 600,000 บาท ทุนสนับสนุนการไปนำเสนอผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ปีละ 300,000 บาท ทุนสนับสนุนการไปศึกษาวิจัยระยะสั้นในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ และเงินสนับสนุนการทำกิจกรรมของนักศึกษาทุกภาคเรียน
นอกจากนี้บัณฑิตวิทยาลัย ยังให้การสนับสนุนทั้งทุนสนับสนุนการวิจัยและการนำไปเสนอผลงานวิจัยอีกทาง หนึ่งด้วย ซึ่งนักศึกษาสามารถขอสนับสนุนได้ทั้งสองทาง ในระหว่างที่ศึกษาคณะก็ได้ให้บริการต่าง ๆ เพื่อลดภาระกับนักศึกษา เช่น บริการพิมพ์และถ่ายเอกสารฟรีตามโควต้าที่กำหนดให้ บริการลดค่าลงทะเบียนให้ในหลักสูตรฝึกอบรมที่คณะได้รับ License และบริการอื่น ๆ รวมทั้งยังเปิดรับนักศึกษาช่วยงานวิชาการในลักษณะของ Teacher Assistant เพื่อให้นักศึกษามีรายได้อีกส่วนหนึ่ง เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอน


วันที่: 29 มีนาคม 2553 แหล่งที่มา: นิตยสารการศึกษาอัพเกรด ฉบับ 143